พิพิธภัณฑ์พืช อาจเปรียบเทียบได้กับหอสมุดพรรณไม้โดยเป็นแหล่งข้อมูลของพืชที่จัดหมวดหมู่อย่างมีระบบ
จากนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (SDG15 Life on Land) รวมทั้งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะ พืชและสัตว์ ชนิดที่หายาก ท้องถิ่น และใกล้สูญพันธุ์
พิพิธภัณฑ์พืชนี้จึงเป็นหนึ่งในสถานที่จัดเก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณพืชเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับพรรณพืชของภูมิภาคตะวันตกให้เป็นไปเกณฑ์ระดับสากล พรรณพืชท้องถิ่น และพรรณพืชที่หายาก รวมถึงพรรณพืชที่ค้นพบครั้งแรกของโลก ระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาหินปูนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาคตะวันตก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนการสอนและวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
พิพิธภัณฑ์นี้ได้ปรับรูปแบบการนำเสนอจากการแสดงตัวอย่างพรรณพืชอย่างเดียว เป็นผสมผสานด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อทำเป็น Story-Telling ให้ผู้สนใจที่มีระดับความรู้แตกต่างกัน สามารถเข้าใจในพรรณพืชและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น
ภายในพิพิธภัณฑ์ เรามีการจัดแสดงเนื้อหาแตกต่างกันตามช่วงเวลาที่นำเสนอ โดยเราทำความเชื่อมโยงตั้งแต่ พรรณพืชที่พบในวิทยาเขตกาญจนบุรี และภูมิภาคตะวันตก
การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่กระทบต่อป่า และพรรณพืช การนำไปใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง
นำเสนอพืชหายาก และพืชที่พบเฉพาะท้องถิ่น
ใช้ AR เล่าเรื่องฤดูกาลกับการเปลี่ยนแปลงป่าหินปูน
ตัวอย่างระบบนิเวศป่าหินปูนที่พบในภูมิภาคตะวันตก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบ
ใช้ AR นำเสนอใบไม้สดและดอกผ่านการดองตัวอย่าง
ใช้ AR เชื่อมโยงเนื้อหากับตัวอย่างแห้ง
นำเสนอตัวอย่างการนำไปใช้ ประโยชน์ และข้อควรระวัง
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่พบ ในภูเขาหินปูนภูมิถาคตะวันตก
รวบรวมงานวิจัย อพสธ ของนักวิจัย MUKA กับสื่อสิ่งพิมพ์